Lesson 2 : Networking Basic

พื้นฐานเน็ตเวิร์คที่จำเป็นในการใช้ Mikrtoik ระดับเริ่มต้น

OSI Model
MAC Address
IP Address
Private IP Address
Public IP Address
Subnet Mask
Gateway
DNS

#OSI Model

ก่อนอื่นอยากให้เพื่อนๆ ได้รู้จัก OSI Model (Open System interconnection) เพื่อใช้เป็นรูปแบบในการจำแนกระบบเน็ตเวิร์คให้มีความรู้ความเข้าใจตรงกัน ทำให้สะดวกในการเรียนรู้ และมองภาพรวมของระบบเน็ตเวิร์คได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
OSI Model

#MAC Address

Mac Address หรือ Physical address ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่ายระดับ Data Link Layer (Layer2) ซึ่งอุปกรณ์เน็ตเวิร์คทุกชนิดจะมีค่า MAC Address ประจำตัวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ โดยค่าของ MAC Address จะถูกกำหนดจากโรงงาน ด้วยเลขฐาน 16 คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9. A, B, C, D, E, F,

ยกตัวอย่างเช่น

RouterBoard 750 <<<< รุ่นของ Mikrotik

D4:CA:6D:72:63:B0 << MAC Address

#IP Address


Pubblic IP and Private IP


IP Address หรือ Logical Address ใช้ในการสื่อสารระหว่างเครื่อข่ายระดับ Network Layer (Layser3) มีความสำคัญมาก เราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษา และทำความเข้าใจเรื่องของ IP Address ให้เข้าใจและสามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถแยกประเภทของ IP Address ได้ 2 ประเภทคือ Private IP Address และ Public IP Address

#Private IP Address

Private IP Address เป็นไอพีที่สามารถนำมาใช้งานได้ทั่วไปในระบบ LAN (Local Area Network) อย่างเช่น ใช้ในบ้าน ในชีวิตประจำวัน ออฟฟิต สำนักงานต่างๆ โรงแรม โรงเรียน ฯลฯ

Private IP Address ที่สามารถใช้งานได้มีดังนี้

10.0.0.0 - 10.255.255.255.255 = 16,777.216 ไอพี (Class A)

172.16.0.0 - 172.31.255.255 = 1,048,576 ไอพี (Class B)

192.168.0.0 - 192.168.255.255 = 65,536 ไอพี (Class C)

#Pubblic IP Address

Pubblic IP Address หรือเรียกว่า ไอพีจริง เป็นไอพีที่ไม่สามารถนำมาใช้ตั้งค่าในระบบเครือข่ายทั่วไปได้ ไอพีดังกล่าวทั่วโลกจะไม่สามารถใช้ซ้ำกัน และไม่ตรงกับ Private IP Address ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานระบบเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ Pubblic IP ขาดแคลน และทำให้ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต มีปัญหาเนื่องจากทาง ISP จ่ายไอพี NAT มาให้

#Subnet Mask

Supnet Mask

หากเพื้อนสังเกต เราจะเห็นว่า IP Address มักจะอยู่คู่กับ Subnet Mask เสมอ ผมจะพยายามไม่อธิบายเชิงหลักการน่ะครับ แค่อยากให้เพื่อนๆที่เริ่มต้นสนใจได้เข้าใจแบบง่ายๆ

ลองสังเกตจากตารางและดูความสัมพันธ์ของ Private IP Address กับ Subnet Mask
 : http://www.subnet-calculator.com/

IP Address Class A

#ตัวอย่างเปรียบเทียบการคำนวน Private IP Address ทั้ง 3 Class

แบบแรก คือ IP Address Class A

IP Address = 10.0.0.1

Subnet mask = 255.0.0.1

Mask Bits = 8 (สามารถใช้ได้ตั้งแต่ 8-30)

การสร้างไอพีใน Mikrotik จะกำหนดได้ = 10.0.0.1/8 (รองรับไอพีทั้งหมด 16,777,214 เครื่องด้วยกัน)

IP Address Class B

แบบที่ 2 คือ IP Address Class B

IP Address = 172.16.0.1

Subnet Mask = 255.255.0.0

Mask bits = 16 (สามารถใช้ตั้งแต่ 16-30)

การสร้างไอพีใน Mikrotik จะกำหนดได้ = 172.10.0.1/16 (รองรับไอพีทั้งหมด 65,534 เครื่องด้วยกัน)

IP Address Class C

แบบที่ 3 คือ IP Address Class C

IP Address = 192.168.0.1

Subnet Mask = 255.255.255.0

Mask bits = 24 (สามารถใช้ได้ตั้งแต่ 24-30)

การสร้างไอพีใน Mikrotik จะกำหนดได้ = 192.168.0.1/24 (รองรับไอพีทั้งหมด 256 เครื่องด้วยกัน)

#Gateway

Gateway คืออะไร ?... 
เพื่อนๆเชื่อมั้ยว่า ถ้าเราค้นหาคำนี้ใน Google เราจะได้คำนิยาม หรือคำจำกัดความที่อ่านแล้วตอบได้คำเดียวว่า งง....!!   เพราะอ่านแล้วสุดท้ายก็ไม่รู้ว่า มันคืออะไร ?  (ความคิดส่วนตัวน่ะครับอาจจะเป็นเพราะว่าผมเองไม่ได้เรียนด้านเน็ตเวิร์คมาโดยตรงก็เป็นได้)

ผมจะขออนุญาติอ้างอิงจากความรู้ที่เราได้อ่านมาแล้วข้างต้นเกี่ยวกับ IP Address เพื่อนำมาประกอบการอธิบายเรื่อง Gateway ให้มองภาพและนึกถึงเน็ตเวิร์คขนาดเล็ก ที่เรารู้จักและใช้งานเป็นประจำในบ้านหรือองค์กรก่อน


Gateway

Gateway เปรียบเสมือนประตูเชื่อมต่อระหว่าง เน็ตเวิร์คภายในบ้านของเรา กับ Internet ภายนอก หรือจาก Internet ภายในประเทศ ออกต่างประเทศสู่ระดับโลก  อีกนัยหนึ่ง เปรียบเสมือนด่านศุลกากรที่คอยตรวจสอบการเข้าออกของประชากรในประเทศ และบุคคลต่างด้าว

Gateway ที่เราคุ้นเคยทำงานอยู่ภายใน  Modem, Router, หรือ ONU

#DNS Server

DNS ย่อมาจาก Domain Name System แปลว่า ระบบจัดการชื่อโดเมน
มีหน้าที่ แปลงชื่อโดเมน (เว็บไซด์) เป็นหมายเลขไอพีตามที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตตั้งค่าไว้

Domain Name คือ ชื่อหรือที่อยู่ของเว็บไซด์ ซึ่งถูก DNS Server แปลงค่าให้เป็นเลข IP Address

ตัวอย่าง DNS Server ของแต่ละค่าย

DNS Google
Preferred DNS server 8.8.8.8
Alternate DNS server 8.8.4.4

DNS 3BB
Preferred DNS server 110.164.252.222
Alternate DNS server 110.164.252.223

DNS TOT
Preferred DNS server 203.113.127.199
Alternate DNS server 203.113.24.199
Alternate DNS server 203.113.5.130

DNS True
Preferred DNS server 203.144.207.29
Alternate DNS server 203.144.207.49

ตัวอย่างการตั้งค่า DNS ใน Mikrotik
ทำไมต้องมีการแปลงค่า Domain Name เป็น IP Address 
เหตุผลมี 2 ประการด้วยกันคือ
1 ในระบบ Network หรือ  Internet จะสื่อสารกันด้วยเลขไอพีเท่านั้น
2 เพื่อให้ผู้ใช้งานจดจำชื่อเว็บไซด์ได้ง่ายขึ้น แทนการจดจำเลขไอพี

ความคิดเห็น

บทความน่าติดตาม

Lesson 1 : Mikrotik คืออะไร

หลักสูตรอบรม Mikrotik สำหรับผู้เริ่มต้น